หลักการเบื้องต้นของมอเตอร์สตาร์ท


ไดสตาร์ท หรือ มอเตอร์สตาร์ท




ที่มา : http://static.weloveshopping.com/shop/client/000061/kkkautopart/011-525.jpg
มอเตอร์สตาร์ทคือ
          เป็นมอเตอร์ต้นกำลังเพื่อฉุดให้เครื่องยนต์ติดตอนเวลาสตาร์ทรถยนต์ โดยการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นพลังงานกลในการหมุนล้อช่วยแรงหรือไฟวิน เพื่อทำให้ลูกสูบขยับจนเข้าไปสู่กระบวนการจุดระเบิดต่อไป



หลักการเบื้องต้นของมอเตอร์สตาร์ท
มอเตอร์สตาร์ท

          เครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซลไม่สามารถติดเครื่องได้ด้วยตัวเอง เครื่องยนต์จะหมุนได้ด้วยการใช้มือหมุน การใช้เชือกดึง และปัจจุบันใช้มอเตอร์ไฟฟ้าร่วมกับสวิตช์แม่เหล็กเพื่อเลื่อนเฟืองขับ เข้าไปขบกับล้อช่วยแรงหมุนให้เครื่องยนต์ติดได้ซึ่งเรียกว่ามอเตอร์สตาร์ท มอเตอร์สตาร์ทเป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล มอเตอร์สตาร์ททำหน้าที่หมุนเครื่องยนต์ให้เกิดความเร็วจนครบวัฎจักร การทำงานของเครื่องยนต์จนเครื่องยนต์ติดได้ ความเร็วในการหมุนที่พอจะทำให้เครื่องยนต์ติดได้ขึ้นอยู่กับขนาด แบบของเครื่องยนต์ และสภาพการทำงาน เครื่องยนต์แก๊สโซลีนใช้ความเร็วประมาณ 40 ถึง 60 รอบต่อนาที และเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความเร็วประมาณ 80 ถึง 100 รอบต่อนาที รูปที่ 1.1 เป็นภาพตัดแสดงโครงสร้างของมอเตอร์สตาร์ท



รูปที่ 1.1 ภาพตัดแสดงโครงสร้างของมอเตอร์สตาร์ท
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05

หลักการเบื้องต้นของมอเตอร์สตาร์ท
          จากกฎสกรูเกลียวขวาของแอมแปร์ เมื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปในเส้นลวดตัวนำ สนามแม่เหล็กรอบๆ เส้นลวดตัวนำจะเกิดขึ้นในทิศทางตามเข็มนาฬิกาดังรูปที่ 1.2

รูปที่ 1.2 เปรียบเทียบเส้นแรงแม่เหล็กกับกฎสกรูเกลียวขวา
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05

          เมื่อให้เส้นลวดตัวนำทางไฟฟ้าอยู่ในระหว่างขั้วแม่เหล็ก N และ S จะมีเส้นแรงแม่เหล็ก 2 ชุด ชุดที่หนึ่งเกิดจากเส้นแรงแม่เหล็กรอบๆ ตัวนำ อีกชุดหนึ่งเกิดจากการไหลของเส้นแรงแม่เหล็กระหว่าง ขั้ว N และ S จะเกิดเส้นแรงแม่เหล็กที่ทิศทางต่างกันและทิศทางตามกัน ด้านที่มีเส้นแรงแม่เหล็กที่ทิศทางต่างกัน เส้นแรงแม่เหล็กก็จะหักล้างกัน ทำให้เส้นแรงแม่เหล็กด้านนั้นอ่อนลง ส่วนด้านที่มีทิศทางตามกัน ก็จะมีความเข้มของเส้นแรงแม่เหล็กมากขึ้น ทำให้เกิดการผลักดันเกิดขึ้นดังรูปที่ 1.3

รูปที่ 1.3
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05
       
          การหาทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก ทิศทางของกระแสไฟฟ้า และทิศทางของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า หาได้จากกฎมือซ้ายของแฟรมมิ่งดังรูปที่ 1.4
รูปที่ 1.4 แสดงกฎมือซ้ายของแฟรมมิ่ง
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05

                   เมื่อต้องงอเส้นลวดตัวนำเป็นรูปตัวยูและให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าเส้นลวดตัวนำทางด้านขวามือ ( x แสดงว่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดตัวนำ ๏ แสดงว่ากระแสไฟฟ้าไหลออกจากตัวนำ) จะเห็นได้ว่าเส้นแรงแม่เหล็กรอบๆ ตัวนำจะเปลี่ยนทิศทางตามเข็มนาฬิกาเป็นทวนเข็มนาฬิกาดังรูปที่ 1.5
รูปที่ 1.5 ทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็กรอบๆ เส้นลวดตัวนำ
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05
         
          เมื่อนำเส้นลวดตัวนำรูปตัวยูนี้ไปสอดไว้ระหว่างขั้วแม่เหล็ก N และ S ก็จะทำให้เส้นแรงแม่เหล็กเกิดการหักล้างกัน โดยเส้นลวดตัวนำทางด้านขวามือของเส้นแรงแม่เหล็กทางด้านบนจะเข้มมากกว่าทาง ด้านล่าง และเส้นลวดตัวนำทางด้านซ้ายมือของเส้นแรงแม่เหล็กทางด้านล่างจะเข้มกว่าทางด้านบน ทำให้เส้นลวดตัวนำเกิดการเคลื่อนที่ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาดังรูปที่ 1.6
รูปที่ 1.6 เส้นลวดตัวนำเคลื่อนที่ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05

                    มีการใช้คอมมิวเทเตอร์กับปลายขดลวดทั้งสองซึ่งเมื่อขดลวดตัวนำหมุนเปลี่ยนด้านกัน กระแสไฟฟ้า ก็ยังไหลเข้าเส้นลวดตัวนำไปทิศทางเดิม ทำให้ทิศทางการหมุนเป็นไปอย่างต่อเนื่องในทิศทางเดียวกันตลอดเวลา ในมอเตอร์สตาร์ตจะมีการออกแบบขดลวดอาร์มาเจอร์และขดลวดฟิลด์คอยล์หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือให้มอเตอร์สตาร์ททำงานหมุนอย่างต่อเนื่องด้วยแรงบิดที่สูงและความเร็วรอบคงที่อย่างเหมาะสม มอเตอร์สตาร์ทมีการต่อวงจรภายใน 3 แบบคือ แบบอนุกรม แบบขนาน และแบบผสม รูปที่ 1.7 แสดงมอเตอร์สตาร์ทพื้นฐานแบบอนุกรม และรูปที่ 1.8 แสดงวงจรของมอเตอร์สตาร์ททั้ง 3 แบบ
รูปที่ 1.7 วงจรมอเตอร์สตาร์ทพื้นฐานแบบอนุกรม
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05

รูปที่ 1.8 วงจรภายในของมอเตอร์สตาร์ท
ที่มา : http://www.auto2drive.com/wp-content/uploads/2013/05

อ้างอิง : http://www.auto2drive.com/มอเตอร์สตาร์ต/
           
          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของมอเตอร์สตาร์ท

การถอดประกอบมอเตอร์สตาร์ท