การถอดประกอบมอเตอร์สตาร์ท

การถอดประกอบมอเตอร์สตาร์ท
     ขั้นตอนการถอดประกอบและตรวจเช็คไดสตาร์ททุกๆ แบบจะมีขั้นตอนที่เหมือนๆ กัน จึงควรจะศึกษาขั้นตอนต่างๆ ให้เข้าใจ เพื่อที่จะปฏิบัติได้ถูกต้อง และไม่ทำให้ไดสตาร์ทเกิดการเสียหายและชำรุด
การถอดมอเตอร์สตาร์ท
การถอดมอเตอร์สตาร์ททำได้ดังนี้
  • คลายสกรูที่ยึดเสื้อของแปรงถ่านออก
  • ถอดอาร์มาเจอร์เบรกออก
  • คลายโบลต์ที่ยึดโครงมอเตอร์สตาร์ทออก
  • ถอดสลักจุดหมุนก้ามปูออก
  • คลายสกรูที่ยึดโซลีนอยด์ออก
  • แยกส่วนประกอบต่างๆ ของมอเตอร์สตาร์ทออก
  • ใช้ไขควงแบนหรือเหล็กปลายแหลมงัดแหวนล็อกออก
  • ดึงปลอกกันชนออก
  • ดึงชุดโอเวอร์รันนิ่งคลัตช์ออก
การถอดไดสตาร์ทแสดงดังรูปที่ 4.38 ส่วนรูปที่ 4.39 แสดงภาพแยกชิ้นส่วนไดสตาร์ท
รูปที่ 4.38 การถอดไดสตาร์ท
รูปที่ 4.39 ภาพแยกชิ้นส่วนไดสตาร์ท
การตรวจสอบอาร์มาเจอร์
การตรวจสอบอาร์มาเจอร์มีขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจการรั่วลงกราวด์ของขดลวดอาร์มาเจอร์ โดยใช้โอห์มมิเตอร์หรือหลอดไฟทดสอบ (test lamp) วัดระหว่างซี่คอมมิวเทเตอร์กับแกนอาร์มาเจอร์ สายที่จี้ซี่คอมมิวเทเตอร์ให้หมุนไปรอบๆ เข็ม
ของโอห์มมิเตอร์จะต้องไม่ขึ้น หรือหลอดไฟของหลอดไฟทดสอบต้องไม่ติด ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้เปลี่ยนอาร์มาเจอร์ใหม่ การตรวจการรั่วลงกราวด์ของขดลวดอาร์มาเจอร์แสดงดังรูปที่ 4.40
รูปที่ 4.40 การตรวจการรั่วลงกราวด์ของขดลวดอาร์มาเจอร์
2. ตรวจวัดการขาดของคอมมิวเทเตอร์ โดยใช้โอห์มมิเตอร์หรือหลอดไฟทดสอบจี้ที่ซี่คอมมิวเทเตอร์ไปรอบๆ เข็มของโอห์มมิเตอร์จะต้องขึ้น หรือหลอดไฟต้องติด ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้เปลี่ยนอาร์มาเจอร์ใหม่ การตรวจวัดการขาดของคอมมิวเทเตอร์แสดงดังรปที่ 4.41
รูปที่ 4.41 การตรวจวัดการขาดของคอมมิวเทเตอร์
3. ตรวจคอมมิวเทเตอร์ วัดความกลมของคอมมิวเทเตอร์ต้องไม่เกิน 0.4 มิลลิเมตร (0.016 นิ้ว) ถ้าเกินค่าที่กำหนดให้นำไปกลึงให้กลม การตรวจคอมมิวเทเตอร์แสดงดังรูปที่ 4.42

รูปที่ 4.42 การตรวจวัดความกลมของคอมมิเทเตอร์
4. ตรวจการลัดวงจรของขดลวดอาร์มาเจอร์ วางอาร์มาเจอร์บนเครื่องโกรว์เลอร์ (growler) เปิดสวิตช์เครื่องโกรว์เลอร์ให้เครื่องโกรว์เลอร์เป็นแม่เหล็ก นำแผ่นเหล็กบางๆ วางบนอาร์มาเจอร์ แล้วหมุนอาร์มาเจอร์ไปรอบๆ ถ้าแผ่นเหล็กถูกดูดตรงตำแหน่งใดก็แสดงว่าขดลวดอาร์มาเจอร์เกิดการลัดวงจร ให้เปลี่ยนอาร์มาเจอร์ใหม่ รูปที่ 4.43 แสดงการตรวจการลัดวงจรของขดลวดอาร์มาเจอร์

รูปที่ 4.43 การตรวจการลัดวงจรของคอมมิวเทเตอร์
5. ตรวจความสะอาดและความลึกของร่องไมกาคอมมิวเทเตอร์ ความลึกของร่องไมกาต้องไม่น้อยกว่า 0.2 มิลลิเมตร (0.008 นิ้ว) ถ้าความลึกน้อยกว่าค่าที่กำหนดให้ทำการเซาะร่อง โดยใช้ใบเลื่อย เซาะร่องให้ได้ความลึก 0.5 ถึง 0.8 มิลลิเมตร (0.020 ถึง 0.031 นิ้ว) การตรวจความสะอาดและความลึกของร่องไมกาคอมมิวเทเตอร์แสดงดังรูปที่ 4.44
รูปที่ 4.44 การตรวจความสะอาดและความลึกของร่องไมกาคอมมิวเทเตอร์
การตรวจสอบฟิลด์คอยล์
การตรวจสอบฟิลด์คอยล์มีขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจการขาดวงจรของขดลวดฟิลด์คอยล์ โดยใช้โอห์มมิเตอร์หรือหลอดไฟทดสอบสายทั้งสองของเครื่องวัดจี้ที่สายที่ต่อกับแปรงถ่าน เข็มของโอห์มมิเตอร์จะต้องขึ้น หรือหลอดไฟติด ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ ให้เปลี่ยนฟิลด์คอยล์ใหม่ การตรวจการขาดวงจรของขดลวดฟิลด์คอยล์แสดงดังรูปที่ 4.45
รูปที่ 4.45 การตรวจการขาดวงจรของขดลวดฟิลด์คอยล์
2. ตรวจการรั่วลงดินและฟิลด์คอยล์ โดยใช้โอห์มมิเตอร์หรือหลอดไฟทดสอบสายหนึ่งจี้ที่สายที่ต่อกับแปรงถ่านและอีกสายหนึ่งจี้ที่โครงของฟิลด์คอยล์ เข็มจะต้องไม่ขึ้น หรือหลอดไฟไม่ติด ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ ให้เปลี่ยนฟิลด์คอยล์ใหม่ การตรวจการรั่วลงดินของฟิลด์คอยล์แสดงดังรูปที่ 4.46
รูปที่ 4.46 การตรวจการรั่วลงดินของฟิลด์คอยล์
การตรวจสอบชุดแปรงถ่าน
การตรวจสอบชุดแปรงถ่านมีขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจการรั่วลงกราวด์ของซองแปรงถ่านบวก โดยใช้โอห์มมิเตอร์หรือหลอดไฟทดสอบสายหนึ่งจี้ที่ซองแปรงถ่านบวกอีกสายหนึ่งจี้ที่โครงยึดแปรงถ่าน เข็มจะต้องไม่ขึ้น หรือหลอดไฟต้องไม่ติด ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้เปลี่ยนโครงยึดแปรงถ่านใหม่ การตรวจการรั่วลงกราวด์ของซองแปรงถ่านแสดงดังรูปที่ 4.47
2. ตรวจวัดความยาวของแปรงถ่าน ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร (0.39 นิ้ว) ถ้าความยาวน้อยกว่า 10 มิลลิเมตร (0.39 นิ้ว) ให้เปลี่ยนแปรงถ่านใหม่ การตรวจวัดความยาวของแปรงถ่าน แสดงดังรูปที่ 4.48
รูปที่ 4.47 การตรวจการรั่วลงกราวด์ของซองแปรงถ่าน
รูปที่ 4.48 การตรวจวัดความยาวของแปรงถ่าน
3. ตรวจวัดสปริงกดแปรงถ่าน โดยใช้ตาชั่งเกี่ยวสปริงและดึงสปริงกดแปรงถ่าน ขณะที่สปริงเริ่มเคลื่อนที่ให้อ่านค่าที่ตาชั่ง ต้องอ่านค่าได้ไม่น้อยกว่า 1.0 กิโลกรัม (2.2 ปอนด์) ถ้าไม่ได้ค่าตามนี้ให้เปลี่ยนสปริงกดแปรงถ่านใหม่ การตรวจวัดสปริงกดแปรงถ่านแสดงดังรูปที่ 4.49
รูปที่ 4.49 การตรวจวัดสปริงกดแปรงถ่าน

การตรวจสอบชุดโอเวอร์รันนิ่งคลัตช์
     การตรวจสอบชุดโอเวอร์รันนิ่งคลัตช์ทำได้โดยการตรวจสอบเฟืองขับโดยดูการแตกหักหรือบิ่นของฟันเฟือง ถ้ามีให้เปลี่ยนใหม่ และตรวจชุดคลัตช์ โดยหมุนเฟืองขับตามเข็มนาฬิกาเฟืองขับจะหมุนได้และหมุนทวนเข็มนาฬิกา เฟืองขับจะถูกล็อก ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้เปลี่ยนชุดโอเวอร์รันนิ่งคลัตช์ใหม่ การตรวจสอบเฟืองขับโดยดูการแตกหักหรือบิ่นของฟันเฟืองแสดงดังรูปที่ 4.50
รูปที่ 4.50 การตรวจสอบเฟืองขับโดยดูการแตกหักหรือบิ่นของฟันเฟือง
การตรวจสวิตช์แม่เหล็ก (โซลีนอยด์)
การตรวจสวิตช์แม่เหล็ก (โซลีนอยด์) มีรายละเอียดดังนี้
1. ตรวจสอบพลังเยอร์ โดยกดพลังเยอร์เข้าและปล่อยพลังเยอร์จะต้องออกมาอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้ตรวจสอบสปริงดันพลังเยอร์ การตรวจสอบพลังเยอร์แสดงดังรูปที่ 4.51

รูปที่ 4.51 การตรวจสอบพลังเยอร์
2. ตรวจสอบการขาดวงจรของขดลวดชุดดึง ใช้โอห์มมิเตอร์หรือหลอดไฟทดสอบวัดระหว่างขั้ว 50 และขั้ว C เข็มจะต้องขึ้นหรือหลอดไฟต้องติด ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้เปลี่ยนสวิตช์แม่เหล็กใหม่ การตรวจสอบการขาดวงจรของขดลวดชุดดึงแสดงดังรูปที่ 4.52
3. ตรวจสอบการขาดวงจรของขดลวดขุดยึด ใช้โอห์มมิเตอร์หรือหลอดไฟทดสอบวัดระหว่างขั้ว 50 และโครงของสวิตช์แม่เหล็ก เข็มจะต้องขึ้นหรือหลอดไฟต้องติด ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้เปลี่ยนสวิตช์แม่เหล็กใหม่ การตรวจสอบการขาดวงจรของขดลวดชุดยึดแสดงดังรูปที่ 4.53
รูปที่ 4.52 การตรวจสอบการขาดวงจรของชุดขดลวดดึง
รูปที่ 4.53 การตรวจสอบการขาดวงจรของขดลวดชุดยึด
การตรวจสอบฝาครอบหน้าหลัง
     การตรวจสอบฝาครอบหน้าหลังทำได้โดยตรวจดูการชำรุดหรือสึกหรอของบูช ให้เปลี่ยนใหม่เมื่อบูชชำรุดหรือสึกหรอ รูปที่ 4.54 แสดงฝาครอบหน้าหลังของบูช
รูปที่ 4.54 ฝาครอบหน้าหลังของบูช
การประกอบมอเตอร์สตาร์ท
     การประกอบมอเตอร์สตาร์ททำได้โดยการปฏิบัติย้อนลำดับจากการถอด และเมื่อประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการตรวจสอบการทำงานของมอเตอร์สตาร์ทและสวิตช์แม่เหล็กอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะ นำไปประกอบเข้ากับเครื่องยนต์
อ้างอิง :  http://www.auto2drive.com/%E0 (การถอดประกอบ-รูป-ข้อมูล)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของมอเตอร์สตาร์ท

หลักการเบื้องต้นของมอเตอร์สตาร์ท